.


cog1

cog1
cog2

ชุดโปรแกรมคำศัพท์เฉพาะด้านอุตสาหกรรม

For Android

ดูในยูทูป

icon

คู่สีสายเคเบิลโทรศัพท์



ระบบคู่สีสายเคเบิลโทรศัพท์

คู่สีสายเคเบิลโทรศัพท์ หรือสายโทรศัพท์มาตรฐาน นั้นจะแบ่งหมวดสีออกเป็น 2 หมวดคือ หมวดแม่สี กับหมวดลูกสี โดยแม่สีและลูกสีจะมีอย่างละ 5 สี


หมวดแม่สี

  1. ขาว
  2. แดง
  3. ดำ
  4. เหลือง
  5. ม่วง
sbp

หมวดลูกสี

  1. นํ้าเงิน
  2. ส้ม
  3. เขียว
  4. นํ้าตาล
  5. เทา

แม่สีหรือสีหลัก นั้น จะจับคู่กันกับลูกสีแบบ 1 ต่อ 5 และจับคู่กันได้ทั้งหมด 25 คู่ (5 x 5 = 25) โดยเริ่มจากสีขาวก่อน แม่สีทั้ง 5 สี จะจับคู่กัน กับลูกสี หรือ สีรองได้อย่างละ 5 คู่


การจับคู่ของแม่สีกับลูกสี

แม่สีที่1 : ขาว

  1. ขาว-นํ้าเงิน
  2. ขาว-ส้ม
  3. ขาว-เขียว
  4. ขาว-นํ้าตาล
  5. ขาว-เทา

แม่สีที่2 : แดง

  1. แดง-นํ้าเงิน
  2. แดง-ส้ม
  3. แดง-เขียว
  4. แดง-นํ้าตาล
  5. แดง-เทา

แม่สีที่3 : ดำ

  1. ดำ-นํ้าเงิน
  2. ดำ-ส้ม
  3. ดำ-เขียว
  4. ดำ-นํ้าตาล
  5. ดำ-เทา

แม่สีที่4 : เหลือง

  1. เหลือง-นํ้าเงิน
  2. เหลือง-ส้ม
  3. เหลือง-เขียว
  4. เหลือง-นํ้าตาล
  5. เหลือง-เทา

แม่สีที่5 : ม่วง

  1. ม่วง-นํ้าเงิน
  2. ม่วง-ส้ม
  3. ม่วง-เขียว
  4. ม่วง-นํ้าตาล
  5. ม่วง-เทา

วิธีนับคู่สี

การนับคู่สีนั้นจะเริ่มจากแม่สีขาวก่อน โดยเริ่มนับจากการจับคู่กันในคู่ที่ 1 ของแม่สีขาวจนครบคู่ที่ 5 แล้วมาเริ่มนับใน แม่สีแดง ต่อ ในคู่ที่ 1 แต่ให้นับเป็นคู่ที่ 6 แทน คือ แดง-นํ้าเงิน แล้วต่อด้วยคู่ ขาว-ส้ม เป็นคู่ที่ 7...จนครบแม่สีแดง คือ แดง-เทา เป็นคู่ที่ 10 จนถึงแม่สีม่วง ซึ่งเริ่มจากคู่ที่ 21 จนถึงคู่ที่ 25


Pair มีทั้งหมด 25
  1. ขาว-นํ้าเงิน
  2. ขาว-ส้ม
  3. ขาว-เขียว
  4. ขาว-นํ้าตาล
  5. ขาว-เทา
  6. แดง-นํ้าเงิน
  7. แดง-ส้ม
  8. แดง-เขียว
  9. แดง-นํ้าตาล
  10. แดง-เทา
  11. ดำ-นํ้าเงิน
  12. ดำ-ส้ม
  13. ดำ-เขียว
  14. ดำ-นํ้าตาล
  15. ดำ-เทา
  16. เหลือง-นํ้าเงิน
  17. เหลือง-ส้ม
  18. เหลือง-เขียว
  19. เหลือง-นํ้าตาล
  20. เหลือง-เทา
  21. ม่วง-นํ้าเงิน
  22. ม่วง-ส้ม
  23. ม่วง-เขียว
  24. ม่วง-นํ้าตาล
  25. ม่วง-เทา

การเพิ่มคู่สีด้วย Bider

คู่สีทั้ง 25 คู่ นั้นอยู่ในสายเคเบิลโทรศัพท์ได้แค่ 25 คู่สาย แต่ถ้าสายเคเบิลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมามากกว่านั้นหละจะมีวิธีการอย่างไร เช่นขนาดสายเคเบิลอากาศที่แขวนอยู่ตามเสาไฟฟ้านั้น จะมีขนาดเล็กเช่น เคเบิลขนาด 50 คู่สาย เคเบิลขนาด 100 คู่สาย 200 คู่สาย เป็นต้น และ วิธีการนับนั้น ก็จะเริ่มจากชุดคู่สี ที่เป็นคู่สายคือ กำหนด Bider ขึ้นมา มีลักษณะที่เป็น ริบบิ้นคู่สี หรือบางทีเรียกว่าโบว์ โดยจะเริ่มตั้งแต่คู่แรก คือ ขาว-นํ้าเงิน และจะถูกเรียกว่า Bider ที่พันรอบชุดคู่สีทั้ง 25 คู่ ตั้งแต่คู่ที่ 1 จนถึงคู่ที่ 25 ให้เป็น Bider ขาว-นํ้าเงิน และ Bider สุดท้าย คือ Bider ม่วง - นํ้าตาล เริ่มจากคู่ ที่ 576-600


Bider มีทั้งหมด 24
  1. ขาว-นํ้าเงิน 1-25
  2. ขาว-ส้ม 26-50
  3. ขาว-เขียว 51-75
  4. ขาว-นํ้าตาล 76-100
  5. ขาว-เทา 101-125
  6. แดง-นํ้าเงิน 126-150
  7. แดง-ส้ม 151-175
  8. แดง-เขียว 176-200
  9. แดง-นํ้าตาล 201-225
  10. แดง-เทา 226-250
  11. ดำ-นํ้าเงิน 251-275
  12. ดำ-ส้ม 276-300
  13. ดำ-เขียว 301-325
  14. ดำ-นํ้าตาล 326-350
  15. ดำ-เทา 351-375
  16. เหลือง-นํ้าเงิน 376-400
  17. เหลือง-ส้ม 401-425
  18. เหลือง-เขียว 426-450
  19. เหลือง-นํ้าตาล 451-475
  20. เหลือง-เทา 476-500
  21. ม่วง-นํ้าเงิน 501-525
  22. ม่วง-ส้ม 526-550
  23. ม่วง-เขียว 551-575
  24. ม่วง-นํ้าตาล 576-600

การเพิ่มคู่สีด้วย Super

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเพิ่มคู่สีขึ้นมาได้อีกจาก 25 คู่ จนถึง 600 คู่ ด้วยวิธีการกำหนด Bider หรือโบว์ ที่มีลักษณะเป็นริบบิ้นสีที่พันรอบชุดคู่สีทั้ง 25 คู่ และเราก็สามารถเพิ่มมันขึ้นมาได้ และจะเห็นได้ว่าคู่สีที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะมีจำนวนได้ สูงสุดถึง 600 คู่ และ Bider นั้นจะถูกใช้เพียง 24 คู่สี ตั้งแต่ ขาว-นํ้าเงิน จนถึง ม่วง-นํ้าตาล 24 Bider กับ 25 คู่สี 24 x 25 = 600 คู่สี (คู่สาย) จากการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับคู่สี เรายังสามารถเพิ่มขนาดคู่สี ให้กับสายเคเบิลขนาดใหญ่ได้มากถึง 3000 คู่สี โดยเฉพาะเคเบิลขนาดใหญ่ ที่ใช้งานใต้พื้นดิน ด้วยวิธีการกำหนดเอาแม่สีหลัก มาเป็น Super (ซุปเปอร์) ที่พันรอบชุด Bider อีกครั้งโดยมีลักษณะ เป็น ริบบิ้นสีเดี่ยว คือ ขาว แดง ดำ เหลือง ม่วง โดยการกำหนดให้ Super แรก เป็น ซุปเปอร์ ขาว และแต่ละซุปเปอร์จะมีจำนวนคู่สีทั้งหมด 600 คู่


Super มีทั้งหมด 5
  1. Super ขาว 1-600
  2. Super แดง 601-1200
  3. Super ดำ 1201-1800
  4. Super เหลือง 1801-2400
  5. Super ม่วง 2401-3000

การนับคู่สีก็ให้ดูจาก Super เป็นหลักก่อนว่า Superสีอะไร เช่น Super ขาว ตรวจดูว่า Super ขาว นั้นเริ่มตั้งแต่คู่ไหนถึงคู่ไหน ต่อจากนั้นก็มาดูในส่วนของ Bider ว่าเป็น Bider สีอะไร เช่น Bider ขาว-ส้ม แล้วมาไล่ดูว่า Bider ขาว-ส้ม นั้นเริ่มจากคู่ไหนถึงคู่ไหน แล้วมาดูที่ Pair หรือคู่สี ว่าเป็นคู่สีอะไรและตรงกับลำดับที่เท่าไหร่ เช่นคู่สี แดง-นํ้าเงิน ในส่วนของ Super ขาว นั้นอยู่ระหว่าง คู่ที่ 1 ถึง 600 ส่วน Bider ขาว-ส้ม นั้นมีค่าอยู่ระหว่าง คู่ที่ 26 ถึง 50 และ Pair แดง-นํ้าเงิน นั้น ก็คือคู่ที่ 6 และอยู่ภายใน Bider ขาว-ส้ม ซึ่งเริ่มตั้งแต่คู่ 26-50 ในคู่เริ่มต้นของ Bider ขาว-ส้ม ก็คือ 26 ซึ่งเป็น คู่ ขาว-นํ้าเงิน (Pair ขาว-นํ้าเงิน) และคู่ที่27 ก็ต้องเป็น Pair ขาว-ส้ม นับไปจนถึงคู่ แดง-นํ้าเงิน (Pair แดง-นํ้าเงิน) ซึ่งตรงกับคู่ที่ 31 หรือจะให้ง่าย ก็ต้องใช้การบวกคู่สี Bider ขาว-ส้ม มีคู่สีคู่ที่ 6 คือ แดง-นํ้าเงิน นำมา + กับ Bider ขาว-ส้ม ซึ่งมี ค่าลำดับ Bider (B:2) เท่ากับ 25 จะได้ 25 + 6 = 31


วิธีคิดคู่สี

วิธีคิดคู่สีนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ การคิดคู่สีให้เป็นตัวเลข และการคิดตัวเลขให้เป็นคู่สี

การคิดคู่สีให้เป็นตัวเลข

ตัวอย่าง Super ขาว = 1-600 Bider ดำ-ส้ม=276-300 Pair เหลือง - เขียว = 18 นำค่าเริ่มต้นของ Super ขาว ลบด้วย 1 (1 - 1 = 0) นำค่าเริ่มต้นของBider ดำ- ส้ม ลบด้วย 1(276 - 1) บวกด้วยลำดับคู่สีคือ 18 (0 + 275 + 18 = 293) ค่าเริ่มต้นของSuper ขาว= 1 ค่าเริ่มต้นของ Bider ดำ-ส้ม=276

  1. SUPER:ขาว BIDER:ม่วง-นํ้าเงิน PAIR:ขาว-เทา (0 + 500 + 5 = 505)
  2. SUPER:แดง BIDER:เหลือง-ส้ม PAIR:ดำ-นํ้าตาล (600 + 400 + 14 = 1014)
  3. SUPER:ดำ BIDER:แดง-ส้ม PAIR:แดง-นํ้าตาล (1200 + 150 + 9 = 1359)
  4. SUPER:เหลือง BIDER:เหลือง-นํ้าเงิน PAIR:เหลือง-นํ้าเงิน (1800 + 375 + 16 = 2191)
  5. SUPER:ม่วง BIDER:ม่วง-นํ้าตาล PAIR:ม่วง-เทา (2400 + 575 + 25 = 3000)

สำหรับเลขประจำหลักSuperแล้วให้ท่องจำเอา ตามดัชนีประจำหลัก INDEX:SBP


การคิดตัวเลขให้เป็นคู่สี

ตัวอย่างที่ 1 คู่สีที่ 32 อันดับแรกให้ดูที่ Super ก่อน เช่นคู่ 32 อยู่ใน Super ขาว (1-600) อยู่ใน Bider ขาว-ส้ม (26-50) นับจาก 26 ไปจนถึง 32 จะเป็นคู่ แดง-ส้ม Pair แดง-ส้ม คู่สีที่ 32 = Super ขาว Bider ขาว-ส้ม Pair แดง-ส้ม

ตัวอย่างที่ 2 คู่สีที่ 753 อยู่ใน Super แดง (601-1200) ใช้วิธีลบ คือให้นำ 753 - 600 = 153 (153 อยู่ใน Bider แดง-ส้ม(151-175)) นับจาก 151 ไปถึง 153 จะเป็น คู่ ขาว-เขียว หรือใช้วิธีลบ นำ 153 - 150 = 3 คู่ที่ 3 คือ Pair ขาว-เขียว

ตัวอย่างที่ 3 คู่สีที่ 1975 อยู่ใน Super เหลือง (1801-2400) 1975 - 1800 = 175 (175 อยู่ใน Bider แดง-ส้ม (151-175)) เป็นคู่สุดท้ายคือ คู่ ม่วง-เทา 175 - 150 = 25 คือ Pair:ม่วง-เทา


วิธีอ่านคู่สี


  • โปรแกรมคำนวณคู่สี CAL SBP-01 เปลี่ยนตัวเลขเป็นคู่สี
  • โปรแกรมคำนวณคู่สี CAL SBP-02 เปลี่ยนคู่สีเป็นตัวเลข

ตารางคู่สีมีทั้งหมด 5 Super แต่ละ Super มี 600 คู่สี

  1. ตาราง 600 มีคู่สีตั้งแต่ 1 - 600 Super: ขาว S:1
  2. ตาราง 1200 มีคู่สีตั้งแต่ 601 - 1200 Super: แดง S:2
  3. ตาราง 1800 มีคู่สีตั้งแต่ 1201 - 1800 Super: ดำ S:3
  4. ตาราง 2400 มีคู่สีตั้งแต่ 1801 - 2400 Super: เหลือง S:4
  5. ตาราง 3000 มีคู่สีตั้งแต่ 2401 - 3000 Super: ม่วง S:5

Biderมีทั้งหมด 24







แสดงผลลัพธ์เมื่อคลิ๊กที่ปุ่มด้านบน


  1. ชุดสี ขาว : 1 - 5
  2. ชุดสี แดง : 6 - 10
  3. ชุดสี ดำ : 11 - 15
  4. ชุดสี เหลือง : 16 - 20
  5. ชุดสี ม่วง : 21 - 24

*ข้อสังเกตุจะเห็นว่าชุดสีม่วงนั้นมีแค่ 4 Bider


Biderเรียงตามลำดับมีทั้งหมด 24 Bider

  1. ขาว นํ้าเงิน B:1
  2. ขาว ส้ม B:2
  3. ขาว เขียว B:3
  4. ขาว นํ้าตาล B:4
  5. ขาว เทา B:5
  6. แดง นํ้าเงิน B:6
  7. แดง ส้ม B:7
  8. แดง เขียว B:8
  9. แดง นํ้าตาล B:9
  10. แดง เทา B:10
  11. ดำ นํ้าเงิน B:11
  12. ดำ ส้ม B:12
  13. ดำ เขียว B:13
  14. ดำ นํ้าตาล B:14
  15. ดำ เทา B:15
  16. เหลือง นํ้าเงิน B:16
  17. เหลือง ส้ม B:17
  18. เหลือง เขียว B:18
  19. เหลือง นํ้าตาล B:19
  20. เหลือง เทา B:20
  21. ม่วง นํ้าเงิน B:21
  22. ม่วง ส้ม B:22
  23. ม่วง เขียว B:23
  24. ม่วง นํ้าตาล B:24

คู่สีเรียงตามลำดับมีทั้งหมด 25 Pair

  1. ขาว นํ้าเงิน P:1
  2. ขาว ส้ม P:2
  3. ขาว เขียว P:3
  4. ขาว นํ้าตาล P:4
  5. ขาว เทา P:5
  6. แดง นํ้าเงิน P:6
  7. แดง ส้ม P:7
  8. แดง เขียว P:8
  9. แดง นํ้าตาล P:9
  10. แดง เทา P:10
  11. ดำ นํ้าเงิน P:11
  12. ดำ ส้ม P:12
  13. ดำ เขียว P:13
  14. ดำ นํ้าตาล P:14
  15. ดำ เทา P:15
  16. เหลือง นํ้าเงิน P:16
  17. เหลือง ส้ม P:17
  18. เหลือง เขียว P:18
  19. เหลือง นํ้าตาล P:19
  20. เหลือง เทา P:20
  21. ม่วง นํ้าเงิน P:21
  22. ม่วง ส้ม P:22
  23. ม่วง เขียว P:23
  24. ม่วง นํ้าตาล P:24
  25. ม่วง เทา P:25


ระบบตัวเลขของคู่สี

ระบบตัวเลขของคู่สีคือ ค่าตัวเลขของคู่สีนั้นๆ การจดจำตัวเลขหลักๆของคู่สีนั้นมีประโยชน์ต่อการนำมาคิดคำนวณหาคู่สี หรือนำมาหาลำดับตัวเลขจากคู่สี ในระบบตัวเลขของคู่สี จะมีลักษณะ 2 แบบ คือ แบบเลขเดี่ยวๆ เช่น 1, 5, 12, 20, 25 เป็นต้น ตัวเลขลักษณะแบบนี้จะใช้กับ Pair หรือคู่สีอย่างเดียว และแบบที่ 2 คือมีลักษณะเป็นช่วงของจำนวนตัวเลข จากระยะเริ่มต้นถึงระยะสิ้นสุด ซึ่งตัวเลขแบบนี้จะใช้กับ Bider และ Super

ตัวอย่างตัวเลขแบบเดี่ยวที่ใช้กับ Pair คู่สี

  • คู่ ขาว-นํ้าเงิน = 1
  • คู่ แดง-ส้ม = 7
  • คู่ เหลือง-เทา = 20
  • คู่ ม่วง-เขียว = 23

ตัวอย่างตัวเลขแบบเป็นช่วงที่ใช้กับ Bider โบว์

  • โบว์ ขาว-นํ้าเงิน = 1-25
  • โบว์ ดำ-ส้ม = 276-300
  • โบว์ เหลือง-นํ้าเงิน = 376-400
  • โบว์ ม่วง-นํ้าตาล = 576-600

ตัวอย่างตัวเลขแบบเป็นช่วงที่ใช้กับ Super ซุปเปอร์

  • ซุปเปอร์ ขาว = 1-600
  • ซุปเปอร์ แดง = 601-1200
  • ซุปเปอร์ ดำ = 1201-1800
  • ซุปเปอร์ เหลือง = 1801-2400
  • ซุปเปอร์ ม่วง = 2401-3000

ค่าตัวเลขสูงสุดของ Pair=25 (5 x 5)

ค่าตัวเลขสูงสุดของ Bider=600 (25 x 24)

ค่าตัวเลขสูงสุดของ Super=3000 (600 x 5)


ระบบตัวเลขของคู่สีในระบบSBP

ระบบตัวเลขคู่สีในระบบSBPจะมีลักษณะเป็นรูปแบบเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งตัวเลขในระบบSBPจะถูกนำมาคำนวณด้วยระบบโปรแกรม และถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายต่อการคิดคู่สี และการคำนวณด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ และในด้านการใช้งานจริงก็สะดวกต่อการจดจำในรูปแบบคู่สี ซึ่งถ้าเราจำคู่สีได้ 25 คู่ ก็สามารถรู้คู่สีได้ถึง 3000 คู่เลยทีเดียว ในการบันทึกก็ง่ายต่อการจดจำ และรู้ได้ทันทีว่าเป็นคู่สีอะไร

ตัวเลขในระบบคู่สีแบบSBP

ตัวอย่างตัวเลขแบบเดี่ยวที่ใช้กับ Pair คู่สี

  • คู่ ขาว-นํ้าเงิน = 1
  • คู่ แดง-ส้ม = 7
  • คู่ เหลือง-เทา = 20
  • คู่ ม่วง-เขียว = 23

ตัวอย่างตัวเลขแบบเดี่ยวที่ใช้กับ Bider โบว์

  • โบว์ ขาว-นํ้าเงิน = 0
  • โบว์ ดำ-ส้ม = 275
  • โบว์ เหลือง-นํ้าเงิน = 375
  • โบว์ ม่วง-นํ้าตาล = 575

ตัวอย่างตัวเลขแบบเดี่ยวที่ใช้กับ Super ซุปเปอร์

  • ซุปเปอร์ ขาว = 0
  • ซุปเปอร์ แดง = 600
  • ซุปเปอร์ ดำ = 1200
  • ซุปเปอร์ เหลือง = 1800
  • ซุปเปอร์ ม่วง = 2400

ส่วนคู่สี หรือPair นั้นจะเป็นแบบเลขเดี่ยวเหมือนกัน

การหาค่าเลขเดี่ยวในระบบSBP

สำหรับคู่สีหรือPairนั้นจะใช้เหมือนกัน แต่BiderและSuperนั้นจะต่างกัน การหาค่าBiderก็ให้นำค่าเริ่มต้นของค่าBiderมาลบออกด้วย 1 เช่น Bider:ขาว-เขียว มีค่าช่วงอยู่ระหว่างคือ 51-75 ให้นำค่า 51 ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นมาลบด้วย 1 เป็น 51-1 = 50 Bider:ขาว-เขียว จะมีค่าในระบบSBPคือ 50 ส่วนค่าของSuperนั้นก็ทำเหมือนกัน เช่น Super:แดง มีค่าช่วงอยู่ระหว่าง 601-1200 ก็นำค่า 601 มาลบ ด้วย 1 เป็น 601-1 = 600 Super:แดง นั้นจะมีค่าลำดับในระบบSBP=600


การคำนวณหาคู่สีในระบบSBP

ระบบSBPเป็นระบบที่ใช้ในการบันทึกคู่สีของคู่สายโทรศัพท์ ซึ่งในการเขียนโดยทั่วไปนั้นจะเขียนเป็นตัวเลข เช่น 23,56,103,135,567...เป็นต้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้นจะนำมาคำนวณหาคู่สี และเกิดความยุ่งยากสำหรับพนักงานที่ทำงานตัดต่อคู่สายโทรศัพท์ และอาจตัดต่อคู่สายผิดพลาดได้ และเวลาบันทึกคู่สายที่เสียหายก็ต้องบันทึกเป็นตัวเลข เช่นคู่สายที่อยู่ในSuperBider:ขาว Bider:แดง-ส้ม Pair:ขาว-เขียว ก็ต้องมาไล่ดูที่ตาราง สำหรับ SuperBider:ขาว นั้นจะอยู่ในตาราง 600 และ Bider:แดง-ส้ม นั้นก็คือBiderที่7 ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 151-175 สำหรับ Pair:ขาว-เขียว นั้นจะมีค่าเป็นคู่ที่ 3 และเวลาคิด ที่จะเขียนให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลขนั้น ก็ต้องมาดูที่ตารางเป็นหลัก ส่วนSuperBider:ขาว นั้นจะมีลำดับเป็นเลข 0 คือให้นำค่า 0 มาตั้งและบวกกับค่าของ Bider:แดง-ส้ม ซึ่งมีค่าลำดับเป็น 150 และนำมาบวกกับ Pair:ขาว-เขียว ซึ่งมีค่าเป็น 3 และนำมาบวกกัน (0+150+3 = 153)


การคำนวณหาคู่สีในระบบSBP แบบ ค่าประจำหลัก INDEX:SBP

ในตาราง Index:SBP นั้นจะแบ่งออกเป็น 5 คอลัมน์ ได้แก่ SS, B1, B2, P1, P2

  • SS ก็คือ Super มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 0 - 2400 และมีระยะห่างกันเท่ากับ 600
  • B1 เป็นแม่สี Bider เริ่มตั้งแต่ 0 - 500 มีระยะห่างกันเท่ากับ 125
  • B2 เป็นลูกสี Bider มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 0 - 100 และมีระยะห่างกันเท่ากับ 25
  • P1 เป็นแม่สี Pair มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 0 - 20 และมีระยะห่างกันเท่ากับ 5
  • P2 เป็นลูกสี Pair มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 1 - 5 และมีระยะห่างกันเท่ากับ 1
  1. ในคอลัมน์ SS แม่สีSuperเรียงลงมาตามลำดับแม่สีคือ ขาว, แดง, ดำ, เหลือง, ม่วง มีค่า 0, 600, 1200, 1800, 2400 ตามลำดับ
  2. ในคอลัมน์ B1 แม่สีBiderเรียงลงมาตามลำดับแม่สีคือ ขาว, แดง, ดำ, เหลือง, ม่วง มีค่า 0, 125, 250, 375, 500 ตามลำดับ
  3. ในคอลัมน์ B2 ลูกสีBiderเรียงลงมาตามลำดับลูกสีคือ นํ้าเงิน, ส้ม, เขียว, นํ้าตาล, เทา มีค่า 0, 25, 50, 75, 100 ตามลำดับ
  4. ในคอลัมน์ P1 แม่สีPairเรียงลงมาตามลำดับแม่สีคือ ขาว, แดง, ดำ, เหลือง, ม่วง มีค่า 0, 5, 10, 15, 20 ตามลำดับ
  5. ในคอลัมน์ P2 ลูกสีPairเรียงลงมาตามลำดับลูกสีคือ นํ้าเงิน, ส้ม, เขียว, นํ้าตาล, เทา มีค่า 1, 2, 3, 4, 5 ตามลำดับ

ดูตาราง index:sbp และไปเปรียบเทียบชุดสีได้ใน โปรแกรม cal sbp-02


สัญลักษณ์คู่สีในระบบSBP

SS คือ การแสดงผลลัพท์ของ Super

S:1 คือ Super:ขาว

S:2 คือ Super:แดง

S:3 คือ Super:ดำ

S:4 คือ Super:เหลือง

S:5 คือ Super:ม่วง

B:1 คือ Bider:ขาว-นํ้าเงิน ไปจนถึง B:24 Bider:ม่วง-นํ้าตาล

P:1 คือ Pair:ขาว-นํ้าเงิน ไปจนถึง P:25 Pair:ม่วง-เทา

B1 คือ Bider:ที่เป็นแม่สีหรือสีหลัก B1 Bider:ขาว,B1 Bider:แดง,B1 Bider:ดำ,B1 Bider:เหลือง,B1 Bider:ม่วง

B2 คือ Bider:ที่เป็นลูกสีหรือสีรอง B2 Bider:นํ้าเงิน,B2 Bider:ส้ม,B2 Bider:เขียว,B2 Bider:นํ้าตาล,B2 Bider:เทา

P1 คือ Pair:ที่เป็นแม่สีหรือสีหลัก P1 Pair:ขาว,P1 Pair:แดง,P1 Pair:ดำ,P1 Pair:เหลือง,P1 Pair:ม่วง

P2 คือ Pair:ที่เป็นลูกสีหรือสีรอง P2 Pair:นํ้าเงิน,P2 Pair:ส้ม,P2 Pair:เขียว,P2 Pair:นํ้าตาล,P2 Pair:เทา


การบันทึกคู่สีในระบบSBP

การบันทึกคู่สีในระบบSBPนั้นผู้เขียนได้ทำการคิดค้นขึ้นมาในปี พ.ศ 2538 เพื่อแก้ไขปัญหาความผิดพลาดของการตัดต่อคู่สายโทรศัพท์ ซึ่งต้องบันทึกเป็นตัวเลข แต่เวลาแก้ไขจะแก้ไขตรงคู่สีโดยเฉพาะสายเคเบิลขนาดใหญ่ ซึ่งมีคู่สี มากถึง 3000 คู่ และเวลาแก้ไขคู่สีก็ต้องอ่านค่าตัวเลข ออกมาเป็นคู่สีให้ได้ และเวลาบันทึกคู่ที่เสีย ก็ต้องแปลงให้เป็นตัวเลข ซึ่งเกิดความยุ่งยากให้กับทีมงาน และผู้เขียนจึงได้คิดค้นระบบการบันทึกคู่สีแบบSBPขึ้นมาใช้งานในหน่วยงานของตัวเอง และก็สามารถแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น


รูปแบบคู่สีในระบบSBP

ตารางคู่สีเคเบิลนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ตารางด้วยกัน

ขั้นตอนการบันทึกคู่สีในระบบ SBP

  1. ให้เลือกดูในส่วนของ Super ว่าเป็นสีอะไรก็ให้เขียนรหัส SBP เช่นสีแดง ก็ให้บันทึก S:2
  2. ดูในส่วนของ Bider ว่าเป็นสีอะไร เช่นเป็นสี ดำ-ส้ม ก็ให้บันทึกเป็น B:12
  3. และก็ดูในส่วนของ Pair หรือคู่สี ว่าเป็นคู่สีอะไร เช่นสี เหลือง-นํ้าเงิน ก็บันทึกเป็น P:16
  4. แล้วนำมาต่อกันโดยเรียงลำดับเป็น S:2 B:12 P:16
การบันทึกรหัสคู่สีด้วยรูปแบบ SBP เราสามารถรู้ทันทีว่ามันคือ Superอะไร Bider และ Pairอะไร ซึ่งมันง่ายต่อการบันทึกและการอ่านข้อมูล โดยที่เราจดจำคู่สีไม่กี่คู่ ก็สามารถรู้คู่สีได้ถึง 3000 คู่เลยทีเดียว เช่นบันทึกรหัส SBP = S:4 B:23 P:21 จากนั้นเราแทนค่าตามรหัสสีได้เลย S:4 ก็คือ Super เหลือง B:23 ก็คือ Bider:ม่วง-เขียว และ P:21 ก็คือ Pair:ม่วง-นํ้าเงิน และด้วยเหตุนี้เองที่ผู้เขียน ได้นำวิธีการบันทึกแบบ SBP มาใช้ในหน่วยงาน เพราะมันสามารถมองเห็นภาพได้เร็วและชัดเจนกว่าการบันทึกเป็นแบบตัวเลข หรือถ้าจะเขียนเป็นตัวเลข ก็จะได้เป็น 2371 และ จะต้องมาแยก Super (Super หรือ SuperBider) Superไหนอยู่ระหว่างลำดับที่เท่าไหร่ถึงที่เท่าไหร่ จากคู่ 2371 แยก Super ได้เป็น เลข 2371 อยู่ใน Super:เหลือง มีค่าอยู่ระหว่าง 1801-2400 จากนั้นก็พิจารณาส่วนที่เกินมาจาก 1800 ว่ามีจำนวนเท่าไหร่(2371-1800=571) และจะได้เป็น 571 แล้วแยก 571 เพื่อหาBider และลำดับที่ 100 จะอยู่ที่ Bider:ขาว- นํ้าตาล ...ไปจนถึง 500 ก็คือ Bider:เหลือง-เทา ก็จะเหลือเลข 71 ซึ่งเกินจำนวน Pair หรือคู่สายซึ่งมีค่าสูงสุดแค่ 25 จากนั้นก็แยก 71 ออกจะได้อีก 2 Bider ซึ่ง 2 Bider มีค่าอยู่ที่ 50 (Biderละ 25 คู่สี) และต่อจาก Bider: เหลือง-เทา ไปอีก 2 Bider ก็คือ Bider:ม่วง-ส้ม จากนั้นก็จะเหลือเลข 21 ซึ่งเกิดจาก (71-50 = 21) และจะเหลือเลข 21 ซึ่งไม่เกินจำนวนคู่สีในBider(1Bider = 25Pair)และจะต้อง อยู่ใน Bider:ม่วง-เขียว และ Pairที่ 21 ก็คือ Pair:ม่วง-นํ้าเงิน
สรุปคู่สีที่ 2371 คือ Super:เหลือง Bider:ม่วง-เขียว Pair:ม่วง-นํ้าเงิน และถ้าบันทึกเป็นระบบ SBP = S:4 B:23 P:21
ตัวอย่างการบันทึกคู่สีในรูปแบบ SBP


โปรแกรมคำนวณ SBP


cog1

กรุณาเลือก P:1 - P:25


ค่าประจำหลัก INDEX:SBP

SS + B1 + B2 + P1 + P2 = 0

SS B1 B2 P1 P2
00001
6001252552
120025050103
180037575154
2400500100205

ค่าลำดับ SBP Super

S:1   0

S:2   600

S:3   1200

S:4   1800

S:5   2400


ค่าลำดับ SBP Bider

B:1   0

B:2   25

B:3   50

B:4   75

B:5   100

B:6   125

B:7   150

B:8   175

B:9   200

B:10   225

B:11   250

B:12   275

B:13   300

B:14   325

B:15   350

B:16   375

B:17   400

B:18   425

B:19   450

B:20   475

B:21   500

B:22   525

B:23   550

B:24   575


ค่าลำดับ SBP Pair

P:1   1

P:2   2

P:3   3

P:4   4

P:5   5

P:6   6

P:7   7

P:8   8

P:9   9

P:10   10

P:11   11

P:12   12

P:13   13

P:14   14

P:15   15

P:16   16

P:17   17

P:18   18

P:19   19

P:20   20

P:21   21

P:22   22

P:23   23

P:24   24

P:25   25




SHARE

Share on Facebook Share on Twitter Share on Google+ Share on Line

www.an101sbp.comAdd Friends


Copyright © www.an101sbp.com All rights reserved.